ก่อนซื้อลู่วิ่งไฟฟ้าต้องดูอะไรบ้าง?
ลู่วิ่งไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ออกกำลังกายที่นิยมใช้งานสำหรับคนรักสุขภาพ เน้นการเผาผลาญคาดิโอหรือคนที่ต้องการฝึกซ้อมวิ่งภายในพื้นที่จำกัด โดยลู่วิ่งจะมีหลายประเภทหลายแบบให้เลือกตามลักษณะการใช้งานของผู้ใช้ ซึ่งถ้าตัดสินใจที่จะซื้อแล้ว ลู่วิ่งจะอยู่กับเราไปตลอดช่วงอายุการใช้งาน หากดูแลบำรุงรักษาอย่างดีสามารถอยู่กับผู้ใช้งานได้ถึง 10 - 15 ปีเลยทีเดียว ในบทความนี้แอดมินจะสรุปข้อสังเกตุง่ายๆ 5 ข้อก่อนที่จะเลือกและตัดสินใจสั่งซื้อลู่วิ่งเพื่อเหมาะสมและคุ้มค่ากับราคาที่จ่ายไปของผู้ใช้งาน
1. พื้นที่วางและขนาดของลู่วิ่ง
แนะนำให้ตรวจสอบพื้นที่วางและตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับลู่วิ่งเป็นอันดับแรก ควรวางไว้อยู่ในตำแหน่งที่อากาศทายเทได้สะดวก ไม่อับมุมจนเกินไป โดยวัดขนาดรวมของพื้นที่ว่างทั้งหมด (กว้าง x ยาว x สูง ) สำหรับลู่วิ่ง หากผู้ใช้งานที่มีพื้นที่จำกัดต้องการลู่วิ่งที่สามารถพับเก็บได้ ให้วัดมุมขนาดพื้นที่เก็บไว้ด้วย และตรวจสอบขนาดทั้งหมดของลู่วิ่งที่ต้องการซื้อว่ามีพื้นทีเพียงพอหรือไม่ในส่วนนี้ควรตรวจสอบขนาดของสายพานหรือพื้นที่วิ่งของผู้ใช้งานด้วย โดยสายพานลู่วิ่งมีค่ามาตรฐาน (กว้าง x ยาว) ขั้นต่ำดังนี้
ความกว้าง
- สำหรับเดินและวิ่งเพื่อสุขภาพขั้นต่ำ 46 cm
- สำหรับนักวิ่งขั้นต่ำอยู่ที่ 50.8cm
ความยาว
- สำหรับเดินและวิ่งเพื่อสุขภาพขั้นต่ำ 125 cm
- สำหรับนักวิ่งขั้นต่ำ 139 cm
- สำหรับนั่งวิ่งที่มีส่วนสูงมากกว่า 180 cm ควรมีขั้นต่ำความยาวสายพานอยู่ที่ 150 cm
2. มอเตอร์
มอเตอร์ถือว่าเป็นหัวใจหลักที่สำคัญของลู่วิ่งไฟฟ้า เป็นแหล่งขับเคลื่อนพลังงานของสายพานโดยมีหน่วยวัดความเร็ว คือ Horse Power(HP) หรือ แรงม้านั่นเอง โดยมอเตอร์สำหรับลู่วิ่งไฟฟ้าจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
- มอเตอร์ AC คือมอเตอร์กระแสไฟฟ้าสลับที่รองรับการใช้งานระดับอุตสาหกรรม สามารถใช้งานแบบต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ตัวเครื่องมีการทำงานคงที่และระบายความร้อนได้เร็ว เหมาะสำหรับการใช้งานในยิม หรือ Commercial
- มอเตอร์ DC คือมอเตอร์กระแสไฟฟ้าตรง มอเตอร์พื้นฐานสำหรับลู่วิ่ง เน้นการใช้งานในรูปแบบ Home use ราคาย่อมเยาและถูกกว่าหากเทียบกับลู่วิ่งมอเตอร์ AC
จากข้อมูลดังกล่าวแล้วหากเป็นผู้ใช้งานที่ต้องการลู่วิ่งระดับฟิสเนส จึงต้องเลือกเป็นมอเตอร์ AC เนื่องจากรองรับการใช้งานแบบต่อเนื่องได้นานกว่า รองรับการใช้งานได้หลายๆคน หรือหากใช้งานภายในบ้านที่มีผู้ใช้งานไม่เยอะ จะแนะนำเป็นมอเตอร์ DC เนื่องจากมีความคุ้มค่าต่อการใช้งานและราคาที่ย่อมเยากว่า
3. ปรับความชัน
ระบบปรับความชันมักจะพบได้ในลู่วิ่งระดับฟิตเนสมอเตอร์ AC ที่สามารถปรับความชันเสมือนการเดินขึ้นเขาหรือทางลาดชันได้ โดยส่วนใหญ่ลู่วิ่งจะปรับความชันมาตรฐานได้สูงสุดอยู่ที่ 12 - 20% สำหรับระบบความชันจะเหมาะสำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการฝึกซ้อม จำลองการเดินขึ้นเขา ต้องการเผาผลาญแคลอรี่เป็นจำนวนมาก หากเป็นผู้ใช้ที่ต้องการวิ่งหรือเดินเพื่อสุขภาพ ระบบปรับความชันเลยไม่จำเป็นมากนัก จึงสามารถเลือกสเปคลู่วิ่งแบบมอเตอร์DCหรือลู่วิ่งราบแบนปกติ ทำให้ประหยัดงบประมาณและคุ้มค่าต่อการใช้งานมากกว่า
4. ระบบลดแรงกระแทก
โดยทั่วไปลู่วิ่งจะมีแผ่นรองที่ช่วยซับแรงกระแทกขณะวิ่งอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นผู้ใช้งานออกกำลังกายที่วิ่งหนักๆ หรือเป็นประจำ ควรมองหาลู่วิ่งที่มีระบบโช้คอัพ (Choke absorber) ที่ช่วยซับแรงกระแทกลดการบาดเจ็บข้อเข่าได้มีประสิทธิภาพมากกว่า โดยระบบโช้คอัพดังกล่าวมักพับได้ในลู่วิ่งมอเตอร์AC ที่มีระบบปรับความชันได้หรือควรสอบถามผู้ขายโดยตรงก่อนทำการตัดสินใจซื้อ
5. การรับประกันสินค้าและบริการหลังการขาย
เป็นสิ่งที่ควรสอบถามผู้ขายและห้ามลืมเป็นอันขาด เพราะสินค้าทุกชนิดมีโอกาสชำรุดเสียหายหรือตำหนิจากโรงงานผู้ผลิต จึงควรสอบถามถึงการประกันสินค้ากับทางผู้ขายและควรมีบริการ Onsite สำหรับตรวจสอบสินค้าหน้างานในกรณีมีปัญหาด้วยเช่นกัน โดยส่วนใหญ่ลู่วิ่งไฟฟ้าจะแบ่งการรับประกันเป็นมอเตอร์และโครงสร้างของลู่วิ่ง การเลือกซื้อลู่วิ่งกับผู้ขายที่ดีควรมีประกันมอเตอร์อย่างน้อย 5 ปี และรับประกันโครงสร้างสร้างอื่นๆด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นสินค้าทางร้าน Core-Fitness รับประกันมอเตอร์ 5 ปี และรับประกันโครงสร้าง 7 ปี มี Spare Part พร้อมเปลี่ยนใหม่แม้สินค้าหมดประกัน รวมถึงบริการ Onsite Service 1 ปี