ยุคสมัยนี้ผู้คนเริ่มหันมาดูแลสุขภาพกันมากขึ้น ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีในการส่งเสริมสุขภาพให้คนทั่วไปได้หันมาออกกำลังกายโดยการเปิดธุรกิจฟิตเนส ซึ่งสามารถเริ่มและลงมือได้ทันทีโดยไม่ต้องลงเงินทุกไปกับค่าแฟรนไชส์ที่มีมูลค่าสูง เพียงใช้เวลาศึกษาข้อมูลก็สามารถทำธุรกิจฟิตเนสโดยใช้เงินทุนที่คุ้มค่าและเปิดธุรกิจตามฝันได้จริง

 

สถานที่ & กลุ่มลูกค้า

อันดับแรกของการเริ่มต้นธุรกิจฟิตเนส คือควรมีทำเลที่ตั้งชัดเจน เพราะทุกอย่างต่อไปนี้จะมีความสอดคล้องกับสถานที่ ดังนั้นการเลือกทำเลมีผลต่อธุรกิจรูปแบบนี้อย่างมาก

ถือได้ว่าเป็นแต้มต่อที่จะลงมือทำธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ถ้าคุณมีพื้นที่เพื่อทำธุรกิจฟิตเนสอยู่แล้ว เช่น เจ้าของอพาร์ทเม้น, เจ้าของพื้นที่ เพื่อรองรับการติดตั้งอุปกรณ์ได้ทันที โดยไม่ต้องเสียเวลาหาพื้นที่หรือปลูกสร้างขึ้นมาใหม่ ในกรณีที่ไม่มีพื้นที่แต่ต้องการทำธุจกิจ แนะนำให้เลือกสถานที่ใกล้แหล่งชุมชนหรือทำเลที่มีผู้คนพักอาศัยเป็นจำนวนมาก

 

กลุ่มลูกค้า

เมื่อเราเลือกสถานที่ฟิตเนสได้แล้ว จำเป็นต้องบริหารจัดการให้สอดคล้องกับกลุ่มลูกค้า ทั้งการตกแต่งบรรยากาศ, เครื่องออกกำลังกายต่าง ๆ รวมไปถึงพื้นที่ที่จะรองรับได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แนะนำให้สังเกตไลฟ์สไตล์ของผู้คนรอบ ๆ บริเวณที่ตั้ง เพื่อเจาะตลาดกลุ่มลูกค้าอย่างถูกต้อง เช่น ค่าเฉลี่ยของราคาสินค้าในบริเวณนั้น, ปริมาณการหมุนเวียนของผู้คนในแต่ละช่วงเวลา และช่วงเวลาการเปิดให้บริการ

 

 

ขนาดพื้นที่

เพื่อการรองรับผู้คนที่เข้ามาใช้บริการฟิตเนส ควรคำนึงถึงขนาดพื้นที่โดยบริหารจัดการพื้นที่ใช้สอยให้มีประสิทธิภาพ อย่างการเลือกจัดวางหรือเลือกเครื่องออกกำลังกายรวบรวมการใช้งานที่หลากหลายจะทำให้เราใช้พื้นที่ได้อย่างคุ้มค่า และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายกับเครื่องที่มากเกินไป

ยุคสมัยนี้ถ้าคุณมีพื้นที่อย่างน้อย 60 ตารางเมตร ก็สามารถเริ่มต้นธุรกิจขนาดย่อมได้แล้ว โดยไม่ต้องกังวัลเรื่องค่าเช่าที่สูงและหาพื้นที่ยากอีกต่อไป สามารถเริ่มต้นธุรกิจฟิตเนสโดยเลือกเครื่องออกกำลังกายในรูปแบบมัลติฟังก์ชั่นแทนเครื่องออกกำลังกายที่ใช้บริหารร่างกายเพียงส่วนเดียว สำหรับคนที่ต้องการพื้นที่กว้างใหญ่ แนะนำควรมีพื้นที่อย่างน้อย 100 ตารางเมตรขึ้นไป เพื่อรองรับอุปกรณ์ที่หลากหลาย รวมไปถึงรองรับผู้คนที่จะเข้ามาออกกำลังกายได้เต็มที่ โดยแบ่งสัดส่วนอุปกรณ์ให้ครอบคลุมกับการใช้งาน

 

 

อุปกรณ์ที่ใช้

อย่ามองข้ามเรื่องการเลือกอุปกรณ์มาใช้งานในธุรกิจฟิตเนส จำเป็นต้องหาเครื่องออกกำลังกายที่มีคุณภาพระดับ Commercial ที่รองรับการใช้งานอย่างหนักหน่วง เพื่อลดปัญหาการซ่อมบำรุง และหมดค่าจ่ายไปกับการเปลี่ยนเครื่องออกกำลังกายที่ไม่มีคุณภาพ ดังนั้นการลงทุนในเรื่องอุปกรณ์เป็นสิ่งสำคัญไม่ควรมองข้าม

เมื่อเรารู้ถึงกลุ่มเป้าหมายของผู้ที่จะเข้ามาใช้บริการฟิตเนสและพื้นที่การให้บริการแล้ว ก็มาถึงรายละเอียดของเครื่องออกกำลังกายที่จะลงทุนนำมาใช้งาน ก่อนอื่นเราต้องรู้ประเภทของเครื่องออกกำลังกายให้ครอบคลุมก่อนที่จะเลือกลงทุน

 

1. เครื่องคาร์ดิโอ

เครื่องประเภทนี้เรียกได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิตฟิตเนสในปัจจุบัน ที่จะทำให้ผู้สมัครใช้บริการฟิตเนสตัดสินใจเป็นอันดับแรก ๆ เพื่อเข้ามาสร้างเสริมสุขภาพและลดน้ำหนัก โดยไม่จำเจเหมือนการออกกำลังกายที่บ้าน ดังนั้นควรเลือกเครื่องคาร์ดิโอที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้ทุกสรีระ และควรเลือกเครื่องที่สามารถรับน้ำหนักตัวผู้ใช้งานได้มากกว่า 100 กิโลกรัมขึ้นไป โดยแบ่งตามประเภทดังนี้

  • ลู่วิ่ง : ควรเลือกมอเตอร์ที่เป็น Ac Motor เพื่อรองรับการใช้งานที่ยาวนานตลอดทั้งวัน
  • เครื่องเดินวงรี : เน้นโครงสร้างที่แข็งแรง และมาพร้อมโปรแกรมการออกกำลังกายที่หลากหลาย
  • จักรยาน : ควรเลือกระบบขับเคลื่อนที่เป็นระบบแม่เหล็กแทนระบบสายพานแบบเก่า เพื่อการใช้งานที่ต่อเนื่อง

 

2. อุปกรณ์ฟรีเวท

เหมาะสำหรับผู้ใช้งานที่เคยออกกำลังกายมาแล้ว เนื่องด้วยอุปกรณ์ฟรีเวทต้องอาศัยความเข้าใจท่าทางและการเล่นที่ถูกต้อง ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับผู้เริ่มต้นออกกำลังกายควรต้องมีเทรนเนอร์คอยแนะนำ แต่ก็เป็นอุปกรณ์ที่ควรมีอยู่ในฟิตเนส เพราะสามารถประยุกต์ท่าทางการออกกำลังกายได้หลากหลาย ใช้เนื้อที่ในการตั้งวางน้อยกว่าอุปกรณ์ประเภทแมชซีน

 

3. แมชซีน

เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่เป็นหน้าเป็นตาของฟิตเนส ส่งเสริมภาพลักษณ์ของธุรกิจฟิตเนสให้เหนือขึ้นไปอีกระดับ เพราะอุปกรณ์แมชซีนเป็นอุปกรณ์ที่สามารถรองรับผู้ใช้งานได้ทุกระดับ เนื่องด้วยอุปกรณ์เหล่านี้มีการรองรับความปลอดภัยและผลิตขึ้นมารองรับท่าทางการเล่นที่ถูกต้อง อาทิเช่น สมิทแมชซีน, โฮมยิม ที่มีระบบป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ สามารถเล่นคนเดียวโดยใช้น้ำหนักได้อย่างเต็มที่

 

4. เครื่องเล่นเฉพาะส่วน

อุปกรณ์ประเภทนี้จะถูกออกแบบมาให้บริหารกล้ามเนื้อส่วนที่เจาะจง อย่างเช่น หน้าอก, หลัง, ไหล่ และขา โดยส่วนใหญ่จะมาพร้อมแผ่นน้ำหนัก (Stack) ที่สามารถเลือกน้ำหนักให้ตรงกับการใช้งานได้ง่าย ๆ โดยผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องจัดท่าทางให้ถูกต้อง เพราะเครื่องเล่นเฉพาะส่วนจะถูกดีไซน์ให้อยู่ในตำแหน่งท่าทางนั้น ๆ มาอย่างถูกต้องแล้ว

 

 

5. อุปกรณ์เสริม

สำหรับข้อนี้ ไม่อยากให้มองข้ามรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ถึงอุปกรณ์เสริมที่จะช่วยเติมเต็มธุรกิจฟิตเนสให้ถึงจุดสูงสุด อย่างเช่น อุปกรณ์ดัมเบล, บาร์เบล, ม้านั่ง และชั้นวางต่าง ๆ ควรเผื่องบประมาณถึงอุปกรณ์เหล่านี้เพื่อรองรับการออกกำลังกายประเภทเวทเทรนนิ่งได้อย่างเต็มรูปแบบ รวมไปถึงพื้นห้องฟิตเนสที่ควรจัดหาแผ่นปูพื้นแทนการใช้พื้นทั่ว ๆ ไป เพื่อป้องกันความเสียหายต่อสถานที่และความปลอดภัยต่อผู้เข้ามาใช้บริการฟิตเนส

 

 

รูปแบบฟิตเนส

1. ฟิตเนสสายสุขภาพ

ลักษณะธุรกิจฟิตเนสที่จะเน้นเครื่องออกกำลังกายรูปแบบคาร์ดิโอเป็นหลัก อย่างเช่น ลู่วิ่ง, จักรยาน และเครื่องเดินวงรี เพื่อรองรับลูกค้าเข้ามาใช้บริการลดน้ำหนัก รวมไปถึงการสร้างสุขภาพแข็งแรง เน้นพื้นที่โล่ง อากาศถ่ายเทสะดวก ใช้พัดลมเพื่อทำให้ปลอดโปร่ง โดยไม่ต้องลงทุนติดเครื่องปรับอากาศที่มีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งสามารถนำเงินทุนตรงนี้ ไปลงทุนกับเครื่องออกกำลังกายเพิ่มเติมได้ อย่างเช่น เครื่องเล่นมัลติฟังก์ชั่นที่รองรับการออกกำลังกายหลากหลายส่วน

 

2. ฟิตเนสสายฮาร์ดคอร์

สำหรับสายฮาร์ดคอร์โดยเฉพาะ ที่เน้นความดิบของการออกแบบฟิตเนส เน้นอุปกรณ์ฟรีเวทเป็นหลัก เอาใจลูกค้าที่ต้องการเน้นการสร้างกล้ามเนื้อ รวมไปถึงนักกีฬาทื่ต้องการฝึกซ้อม ธุรกิจฟิตเนสลักษณะนี้จะเลือกใช้เครื่องและอุปกรณ์ที่ต้องรองรับน้ำหนักเป็นจำนวนมาก อย่างเช่น ม้านั่งปรับระดับ, ดัมเบล, บาร์เบล และเครื่องออกกำลังกายเฉพาะส่วน ซึ่งอาจจะไม่เหมาะกับมือใหม่ หรือต้องมีเทรนเนอร์คอยแนะนำเพื่อการออกกำลังกายที่ถูกต้อง

 

3. ฟิตเนสสายไฮบริด

ในยุคหลังช่วงโควิด ธุรกิจฟิตเนสลักษณะนี้กลายเป็นที่นิยมในหมู่นักออกกำลังกาย เนื่องด้วยสามารถรองรับกลุ่มผู้ใช้งานได้ครอบคลุมตั้งแต่มือใหม่ไปจนถึงนักกีฬา 

 

 

เริ่มต้องใช้งบเท่าไหร่ในการเปิดฟิตเนส ?

งบประมาณที่ใช้ขึ้นอยู่กับว่าคุณอยากเปิดยิมแบบไหน หากเป็นยิมที่มีขนาดพื้นที่รองรับลูกค้าปริมาณมาก งบลงทุนจะสูงขึ้นตามขนาดพื้นที่ ซึ่งในงบประมาณยังมาพร้อมปัจจัยต่าง ๆ เช่น ทำเลที่ตั้งจะส่งผลให้งบประมาณแตกต่างกัน โดยจะแนะนำให้ลงงบประมาณให้สอดคล้องกับพื้นที่หลัก แล้วจึงมาอ้างอิงกับปริมาณเครื่องออกกำลังกายให้เพียงพอต่อการใช้งาน

 

 

ทำยังไงให้คืนทุนใน 6 เดือน

ขอยกตัวอย่างกรณีศีกษา แยกออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

 

1. ค่าใช้งานคงที่

ค่าใช้จ่ายหลักๆ จะมาจากการเช่าพื้นที่ที่ต้องจ่ายทุก ๆ เดือน รวมไปถึงค่าอุปกรณ์ที่ซื้อเข้ามาใช้งานครั้งแรกและค่าตกแต่งสถานที่ ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของดีไซน์ที่ต้องการ ซึ่งค่าตกแต่งอาจจะกินงบประมาณเยอะมากกว่าค่าเช่าพื้น แนะนำให้ตกแต่งตามคอนเซ็ปที่เรียบง่ายสอดคล้องกับเครื่องออกกำลังกาย เพราะบางทีการมีเครื่องออกกำลังกายเต็มพื้นที่โดยจัดวางให้สวยงามก็สามารถเพิ่มภาพลักษณ์ของฟิตเนสคุณได้

 

2. ค่าใช้จ่ายแปรผัน

เป็นค่าใช้จ่ายที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ทุกเมื่อ ดังนั้นจำเป็นต้องแบ่งงบประมาณให้กับค่าใช้จ่ายแปรผันส่วนนึง เพื่อรองรับค่าจ่ายพนักงาน, ค่าไฟ, ค่าน้ำ และค่าอำนวยความสะดวกในฟิตเนส ควรตั้งงบประมาณของค่าใช้จ่ายแปรผันทุก ๆ เดือน เพื่อสามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายและประเมินการเล่นลงทุนเพิ่มเติมในอนาคต

 

 

รายได้จากธุรกิจ

ในช่วง 1 - 2 เดือนแรก อาจจะยังไม่เห็นถึงรายได้ที่เป็นกอบเป็นกำ แต่อยากให้ลงไปคลุกคลีกับธุรกิจให้เต็มที่ เพื่อเห็นช่องทางใหม่ ๆ และเข้าใจลูกค้ามากขึ้น เพื่อนำมาพัฒนากับธุรกิจได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้น

1. รายได้ประจำ

เป็นผลประกอบการจากค่าสมาชิกที่เข้ามาใช้บริการต่อเดือน ซึ่งสามารถคำนวณได้จากค่าสมาชิก X จำนวนสมาชิกที่สมัคร ดังนั้นจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการหาสมาชิกฟิตเนส

แนะนำวิธีเพิ่มรายได้สมาชิก

  • สร้างแพ็คเกจเพื่อให้สมาชิกเห็นความคุ้มค่า เช่น ราย 3 เดือนได้ราคาพิเศษ, รายปีได้ราคาที่ถูกกว่ารายเดือนปกติ
  • สร้างแพ็คเกจตามช่วงเวลาที่เข้าใช้บริการ เช่น เล่นได้ตลอดทั้งวัน, เล่นได้เฉพาะช่วงเย็น
  • จัดโปรโมชั่นให้ทดลองเล่น เช่น ลองเล่นฟรี 1 ครั้ง, เชิญเพื่อนสมาชิกฟรี เพื่อเปิดโอกาสการขายสมาชิก

 

2. รายได้อื่น ๆ

รายได้ประเภทนี้ถือว่าช่วยเติมเต็มความคุ้มค่าของธุรกิจฟิตเนส ที่ช่วยให้คืนทุนได้รวดเร็ว ซึ่งต้องวางแผนให้สอดคล้องกับฟิตเนสเพื่อรองรับการบริการได้ครบถ้วน

แนะนำวิธีการหารายได้อื่น ๆ 

  • ค่าบริการเสริม : แพ็คเกจพิเศษที่ช่วยเพิ่มความต้องการ เช่น โซนนวด ที่จ่ายครั้งเดียวสามารถใช้งานบริการได้ตลอด
  • ค่าอุปกรณ์ : สิ่งจำเป็นต่อผู้ใช้บริการที่ต้องการใช้งาน เช่น ผ้าเช็ดเหงื่อ, ถุงมือฟิตเนส, ขวดน้ำ
  • ค่าเทรนเนอร์ : เพิ่มแพ็คเกจจากค่าสมาชิก โดยได้ราคาที่มีมูลค่าคุ้มกว่าการซื้อแยก
  • ค่าเครื่องดื่ม : เป็นสิ่งจำเป็นต่อผู้เข้ามาใช้บริการฟิตเนส โดยสามารถจัดโปรโมชั่นในราคาที่คุ้มกว่าการซื้อจากข้างนอก

 

 

เคสตัวอย่างธุรกิจฟิตเนส

เรา Core-Fitness ได้นำเคสตัวอย่างของธุรกิจฟิตเนส ที่ได้รับการออกแบบและวางแผนเครื่องออกกำลังกายให้รองรับการทำธุรกิจแบบครบวงจร ทั้งธุรกิจฟิตเนสเซ็นเตอร์, ห้องฟิตเนสสำหรับพนักงาน และห้องฟิตเนสในโครงการที่พัก

 

พื้นที่กว่า 100 ตารางเมตร

ฟิตเนสเซ็นเตอร์ตั้งอยู่ในย่านช้อปปิ้งมอลล์ เจ้าของธุรกิจชื่นชอบในการเล่นเวทเทรนนิ่ง ซึ่งได้เน้นสัดส่วนเครื่องคาร์ดิโอ 40% และสมิทแมชซีนพร้อมอุปกรณ์ฟรีเวท 60% เพื่อรองรับผู้ใช้งานในบริเวณเหล่านั้น

 

พื้นที่กว่า 100 ตารางเมตร

ห้องฟิตเนสสำหรับพนักงานบริษัทที่ตั้งอยู่ในอาคารกีฬาที่เพิ่งสร้างเสร็จ ออกแบบเพื่อทำห้องฟิตเนสโดยแบ่งสัดส่วนเป็นเครื่องคาร์ดิโอ 50% และสมิทแมชซีนพร้อมอุปกรณ์ฟรีเวท 50% 

 

พื้นที่กว่า 250 ตารางเมตร

ห้องฟิตเนสสำหรับพนักงานภายในตึกโครงการตึกที่พักอาศัย ได้มีการแบ่งห้องออกเป็นห้องฟิตเนสและห้องจักรยานสปินไบค์ เพื่อรองรับการใช้งานพร้อมกันมากกว่า 20 คน

ดูงานโปรเจกต์ของเราที่เคยติดตั้ง (คลิก)

 

สรุป

สุดท้ายนี้ขั้นตอนการทำธุรกิจฟิตเนสไม่ใช่เรื่องยากหรือใหม่ ก่อนตัดสินใจลงทุนทำธุรกิจควรศึกษาให้รอบด้าน พิจารณาอย่างถี่ถ้วนพร้อมผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น อย่างเช่น ศึกษาตลาด, ทำแผนธุรกิจ เพื่อเตรียมความพร้อมให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในเวลาอันรวดเร็ว อีกเคล็ดลับที่สามารถนำไปใช้ได้จริงคือควรรับฟังคำแนะนำจากลูกค้าและความพึงพอใจต่อการเข้ามาใช้บริการ เพื่อนำไปพัฒนาให้กลายเป็นฟิตเนสที่ทุกคนอยากเข้ามาใช้บริการ